
สำนักงานยุติธรรมจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับ ศูนย์ยุติธรรมชุมชนเทศบาลตำบลด่านสำโรง จัดโครงการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ในชุมชน ป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม


วันที่ 30 มิถุนายน 2568 เวลา 09.00 น. ที่โรงแรมเบย์ โฮเทล ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับ ศูนย์ยุติธรรมชุมชนเทศบาลตำบลด่านสำโรง ได้จัดโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยมีนายนพดล นมรักษ์ ผู้ตรวจราชการกรมคุมประพฤติ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และมีว่าที่ร้อยตรี จำนงค์ แก้วมาดีงาม ยุติธรรมจังหวัดสมุทรปราการ ปฏิบัติหน้าที่ ยุติธรรมจังหวัดสมุทรปราการ ในนามของคณะผู้จัดโครงการ ฯ กล่าวรายงาน เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ในชุมชน ป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรม และส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน โครงการนี้มีกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหาย การคุ้มครองพยานในคดีอาญา และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน ภายในงานมี นางสาวภัทราภรณ์ พรมนุชาธิป อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการ ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ รู้เท่าทันปัญหาหนี้นอกระบบ และหัวข้อ การไกลเกลี่ยก่อนฟ้องและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในคดีอาญา โดย คุณอรุณรัตน์ ขานรงค์ นิติกรชำนาญการพิเศษ คุณคัทลียา ศิลารัตน์ ผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดสมุทรปราการ และคุณสลิดพัน จันลออ ผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดสมุทรปราการ



นอกจากนี้ โครงการยังมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่อย่างยั่งยืน และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนที่ปลอดภัยและเป็นธรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานยุติธรรมจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับศูนย์ยุติธรรรมชุมชนเทศบาลตำบลด่านสำโรง โดยมีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและลดความเหลื่อมล้ำในชุมชน ผ่านการให้ความรู้ ให้คำปรึกษา และช่วยเหลือประชาชน ในการนี้ สำนักงานยุติธธรรมจังหวัดสมุทรปราการ จึงใต้จัตโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถรับรู้ และเข้าใจปัญหาอาชญากรรม จากการเป็นหนี้นอกระบบ สามารถนำในปรับใช้ในชีวิตประจำวันใด้อย่าเหมาะสม และเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียบ สร้างภาคีเครือข่าย ในการเฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับอาชญากรรมในพื้นที่ ตลอดจนตระหนักรู้ถึงสิทธิและเสร็ภาพ ตามที่กฎหมาลให้การคุ้มครอง/โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 50 คน